ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ระบอบการปกครองโลก การเมืองการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด  
   

 

ความเป็นมาของระบอบเผด็จการทหาร

4| | |ระบอบเผด็จการทหาร| | |3
                      ระบอบเผด็จการที่คณะผู้นำฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองโดยตรงหรือโดยอ้อม (ผ่านทางพลเรือนที่พวกตนสนับสนุน)  และมักจะใช้กฎอัยการศึกหรือรัฐธรรมนูญที่คณะของตนสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการปกครอง โดยทั่วไปคณะผู้นำทหารมักอ้างว่าจะใช้อำนาจปกครองประเทศเป็นการชั่วคราว แต่หลังจากนั้นมักไม่ยอมคืนอำนาจกลับมาให้ประชาชนโดยง่าย แต่เมื่อเวลาผ่านไปกระแสความไม่พอใจในหมู่ประชาชนรวมกับแรงกดดันนานาชาติก็จะทำให้คณะผู้นำทางทหารกุมอำนาจการปกครองดังกล่าวไว้ไม่ได้ ในที่สุดจึงจำเป็นต้องคืนอำนาจให้กับประชาชน แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ในบางประเทศก็เกิดความวุ่นวาย เกิดการต่อสู้ระหว่างกำลังของประชาชนกับกำลังของรัฐบาลเผด็จการทหารจนนำไปสู่การบาดเจ็บล้มตายของทั้งสองฝ่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากประวัติศาสตร์การเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในการปกครองที่ผ่านมา มักจะจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายประชาชนเสมอ

ที่มา :https://sites.google.com/site/rubbabkarnpokkrong/4-kar-pkkhrxng-rup-baeb-phedckar-khxmmiwnist



                     ตัวอย่างการปกครองแบบเผด็จการทหาร เช่น การปกครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นระยะที่พลเอกโตโจและคณะนายทหารใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองหรือการปกครองของไทยช่วงที่ไม่มีรัฐธรรมนูญระหว่างวันที่20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 อำนาจการปกครองได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะปฏิวัติ นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชน์ และจอมพลถนอม กิตติขจร
                      ประเทศที่มีการปกครองระบอบเผด็จการทหาร เช่น สหภาพพม่า ซึ่งมีสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ( The State Peace and Development Council : SPDC) ที่มาจากคณะนายทหารทำหน้าที่บริหารประเทศ เป็นต้น
 
 
เว็บไซต์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา โครงการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี คุณครูที่ปรึกษา นางสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2563