ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ระบอบการปกครองโลก การเมืองการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด  
   

 

         <<.. ประชาธิปไตย ..>> คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ โดยอาศัยหลักการของการแบ่งแยกอำนาจและหลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องแห่งกฎหมายผู้ปกครองประเทศที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นเพียงตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนซึ่งระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมาก


ที่มา :https://www.matichonweekly.com/special-report/article_181411


4| | |หลักการของระบอบประชาธิปไตย | | |3

1. อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรือบางทีก็เรียกกันว่า อำนาจของรัฐ (state power) เป็นอำนาจที่มาจากปวงชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
2. ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนเพื่อไปใช้สิทธิใช้เสียงแทนตน เช่น การเลือก สส. หรือ สว. โดยมีการกำหนดวันเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง เช่น ทุก 4 ปี หรือ 6 ปีเป็นต้น
3. รัฐบาลจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน อาทิ สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิต เสรีภาพในการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น การชุมนุม โดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านี้ เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อรักษาศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
4. ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน เช่น สิทธิในการ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
5. รัฐบาลถือกฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง และในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มชน รวมทั้งจะต้องไม่ออกกฎหมายที่มีผลเป็นการลงโทษบุคคลย้อนหลัง

    

4| | |ระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท | | |3

1. แบบแรกมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้แก่ อังกฤษ เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไทย
2. แบบที่สองมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้แก่ ฝรั่งเศส อินเดีย สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

 
 
เว็บไซต์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา โครงการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี คุณครูที่ปรึกษา นางสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2563