ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ระบอบการปกครองโลก การเมืองการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด  
   

 

ความเป็นมาของระบอบเผด็จการฟาสซิสต์

 

4| | | ลักษณะสำคัญของลัทธิเผด็จการ เนื่องจากแนวความคิดตลอดจนความหมายของเผด็จการยังมีข้อโต้แย้งกันมาก แต่อย่างไรก็ตามเผด็จการไม่ว่าในลักษณะใด ๆ จะมีสิ่งที่ร่วมกันอยู่ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้ | | |3

                      <<<< ประการที่หนึ่ง >>>> ลัทธิเผด็จการไม่เห็นความสำคัญของความเสมอภาคหรือไม่เชื่อว่าบุคคลมีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าในด้านชาติกำเนิด การศึกษาและฐานะทางสังคม ด้วยเหตุนี้ลัทธิเผด็จการจึงแบ่งคนในสังคมออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มผู้นำ ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีชาติกำเนิน การศึกษา และฐานะทางสังคมสูง พวกนี้เป็นพวกที่มีความสามารถในการที่จะค้นพบความจริง ความถูกต้อง และสร้างสรรค์คุณธรรมความดีให้กับสังคมได้ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งไร้ความสามารถและไม่อาจที่จะปกครองตนเองได้มักจะดำเนินการใด ๆ ไปโดยใช้อารมณ์เป็นเกณฑ์ ด้วยเหตุนี้ลัทธิเผด็จการจึงเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่จึงต้องเชื่อฟังผู้นำ


ที่มา :https://sites.google.com/site/rubbabkarnpokkrong/4-kar-pkkhrxng-rup-baeb-phedckar-khxmmiwnist


                      <<<<ประการที่สอง>>>> ลัทธิเผด็จการเป็นลัทธิการเมืองที่ไม่ยอมรับว่าประชาชนทั่ว ๆ ไปเป็นผู้มีเหตุผล ลัทธินี้เชื่อว่าเหตุผลของประชาชนทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถที่จะนำมาแก้ปัญหาของสังคมได้ เพราะแต่ละคนต่างก็ยึดตนเองเป็นหลัก การใช้เหตุผลเพื่อยุติปัญหาจะนำมาซึ่งความโกลาหล ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม ดังนั้นลัทธินี้จึงสรุปว่าประชาชนทั่ว ๆ ไปเป็นผู้ที่ไร้เหตุผล ผู้ปกครองจึงไม่จำเป็นต้องไปให้เหตุผลใด ๆ และประชาชนโดยทั่วไปต้องมีผู้ปกครองเป็นผู้นำให้ความคุ้มครองแก่พวกเขา ซึ่งผู้นำนี้เองที่จะทำให้ประชาชนมีความก้าวหน้าปลอดภัยและยิ่งใหญ่ได้ ส่วนประชาชนนั้นมีหน้าที่อยู่อย่างเดียว คือ เชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำโดยถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องกระทำ

                      <<<< ประการที่สาม >>>> ลัทธิเผด็จการให้ความสำคัญกับเสรีภาพส่วนบุคคลน้อยกว่าอำนาจรัฐ ประเด็นนี้ เราอาจจะเข้าใจได้แจ่มชัดขึ้น ถ้าเราพิจารณาคำกล่าวของมุสโสลินี ผู้นำของเผด็จการฟาสซิสต์ตอนหนึ่งที่ว่า รัฐเป็นนายและเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของชีวิตและสังคม นั่นคือ ลัทธิเผด็จการจะยึดมั่นว่ารัฐเป็นสิ่งสูงสุดที่ประชาชนจะต้องสักการบูชา และอุทิศตนเองเพื่อความยิ่งใหญ่และความเจริญก้าวหน้าของรัฐ ประชาชนจะต้องมีภาระที่จะรับใช้รัฐ ฉะนั้นสิ่งใดที่รัฐกำหนดขึ้นทุกคนที่อยู่ในรัฐก็จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่อาจหลีกเหลี่ยงได้นั่นคือ ระบอบเผด็จการจะเน้นที่อำนาจของรัฐมากกว่าเสรีภาพของประชาชน

                      <<<< ประการที่สี่ >>>> ลัทธิเผด็จการไม่อดทนต่อความคิดที่แตกต่างกัน อันจะได้มาซึ่งความเห็นพ้อง หรือการเหนี่ยวนำให้ตรงแนวความคิดที่พวกเขายึดถือ คือ เรื่องอำนาจสูงสุดของรัฐและอำนาจเด็ดขาดของผู้นำที่เป็นตัวแทนของรัฐ ดังนั้นกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง สมาคมอาชีพ สหพันธ์-กรรมกรจะต้องเป็นกลุ่มที่ให้การสนับสนุนผู้นำจึงจะตั้งอยู่ได้ พวกผู้นำลัทธิเผด็จการจะไม่ยอมให้มีฝ่ายอื่นใดเข้ามามีส่วนในการใช้อำนาจและด้วยความกลัวว่าจะมีกลุ่มทางการเมืองอื่นมาแย่งชิงอำนาจ บรรดาผู้นำเหล่านี้จะพยายามค้นหาและทำลายกลุ่มเหล่านั้นเสียก่อนที่จะเติบโตขึ้นมาและทำลายพวกตนได้


ที่มา :https://sites.google.com/site/rubbabkarnpokkrong/4-kar-pkkhrxng-rup-baeb-phedckar-khxmmiwnist


4| | |ประเภทของลัทธิเผด็จการ| | |3
                      ลัทธิเผด็จการมีอยู่คู่กับสังคมโลกมาช้านาน นับตั้งแต่มนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคมยุคแรก ๆ สังคมเผ่าส่วนใหญ่จะมีหัวหน้าเผ่าที่เป็นเผด็จการ ปัจจุบันสังคมได้วิวัฒนาการไปมาก รูปแบบหรือประเภทของลัทธิเผด็จการก็เริ่มหลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องมากจากผู้นำของประเทศนั้น ๆ ได้พยายามที่จะนำเอาลัทธินี้มาเสริมแต่งเพื่อที่จะให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม และการเมืองของตน ทั้งนี้ผู้นำเหล่านี้มีจุดประสงค์หลักประการหนึ่งร่วมกัน นั่นก็คือ เพื่อให้ตนอยู่ในอำนาจ ได้นานที่สุด อย่างไรก็ตาม เราอาจที่จะแบ่งประเภทของลัทธิเผด็จการได้เป็น 2 ประการ โดยอาศัยหลักการในเรื่องขอบเขตของการใช้อำนาจเป็นเกณฑ์ 

4| | |เผด็จการอำนาจนิยม| | |3
                      ลักษณะสำคัญของเผด็จการประเภทนี้ คือ รัฐบาลจะเข้าควบคุมสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน มักจะไม่ ยอมให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง มีการตรวจสอบหรือใช้อำนาจรัฐสั่งปิดหนังสือพิมพ์มักจะอ้างลัทธิชาตินิยมมาสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจของผู้ปกครอง แต่รัฐจะยังคงให้เสรีภาพในทางเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือประชาชนสามารถที่จะเลือกนับถือศาสนา ดำเนินชีวิตส่วนตัวและธุรกิจได้อย่างเป็นอิสระพอสมควร รัฐเผด็จการอำนาจนิยมจะมี การลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎเกณฑ์ของบ้านเมืองอย่างรุนแรง ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผู้นำอำนาจนิยมนั้นจะพยายามแสวงหาอำนาจ และเมื่อได้อำนาจแล้วจะใช้อำนาจบีบบังคับและกำจัดฝ่ายตรงข้าม หรือศัตรูทางการเมือง หรือแม้แต่กลุ่มการเมืองอื่น ๆ ที่ผู้นำเห็นว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อสถานภาพของผู้นำเอง อย่างไรก็ตาม กลุ่มทางเศรษฐกิจ สังคมอื่น ๆ เช่น สมาคม สมาพันธ์ หรือสหกรณ์ใด ๆ ที่ดำเนินกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับ การเมืองนั้นจะไม่ได้รับผลกระทบหรืออาจได้รับผลกระทบ แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ที่มา :https://sites.google.com/site/rubbabkarnpokkrong/4-kar-pkkhrxng-rup-baeb-phedckar-khxmmiwnist

4| | |เผด็จการเบ็ดเสร็จ| | |3

                       การปกครองโดยมีผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดและ ใช้อำนาจเด็ดขาดคนเดียว พยายามที่จะสร้างอุดมการณ์ขึ้นมา สร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจ มีการจัดตั้งพรรคการเมือง หรืออาจอยู่ในรูปขององค์กรผู้นำพรรคเดียวเข้าควบคุม อำนาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมนั้นคือ บุคคลรวมทั้งกิจกรรมของบุคคลในสังคมทุกคน ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือเศรษฐกิจ หรือสังคม จะตกอยู่ภายใต้การสอดส่องดูแลและควบคุมกำกับโดยอำนาจรัฐ มีการลงโทษผู้กระทำ ผิดอย่างรุนแรง พยายามสร้าง ความสำนึกให้ประชาชนเคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามอำนาจรัฐ หรือคำสั่งของผู้นำโดยเคร่งครัดโดยถือเป็นหน้าที่ เผด็จการประเภทนี้จะไม่ยอมให้มีฝ่ายตรงข้าม สังคมที่ปกครองโดยลัทธิเผด็จการเบ็ดเสร็จ จึงมี สภาพเป็นอาณาจักรแห่งความกลัว ประชาชนไม่แน่ใจในสถานภาพของตนเอง พวกเขานอกจากจะถูกกีดกันออกจากการเมืองแล้ว ยังถูกสกัดกั้นความคิดการกระทำทางของตนเอง พวกเขานอกจากจะถูกกีดกันออกจากการเมืองแล้ว ยังถูกสกัดกั้นความคิดและการกระทำทาง เศรษฐกิจ สังคมอีกด้วย รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จจะควบคุมเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด และจะใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อปลูกฝังความเชื่อ ความศรัทธาให้เยาวชน หรือคนรุ่นใหม่ยึดมั่นใน อุดมการณ์ของผู้นำ ผู้นำของลัทธิเผด็จการเบ็ดเสร็จมักจะอ้างว่าตนเองเป็นผู้ล่วงรู้หรือเข้าถึงเจตนารมณ์หรือความต้องการของคนทั้งหมด เจตนารมณ์ของผู้นำจึงเป็นตัวแทนของเจตนารมณ์ของประชาชน ผู้นำของลัทธินี้จึงอ้างว่าเป็นผู้ที่ถูกต้อง เสมอ ดังนั้นประชาชนจึงไม่มีสิทธิที่วิพากษ์วิจารณ์หรือคัดค้าน ผู้ที่กล้าหาญวิพากษ์วิจารณ์ หรือคัดค้านคำสั่งของผู้นำนั้นจะถือว่าเป็นอาชญากรที่ต่อต้านรัฐ และจะต้องถูกกำจัดไปด้วย

 
 
เว็บไซต์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา โครงการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี คุณครูที่ปรึกษา นางสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2563