ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ระบอบการปกครองโลก การเมืองการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด  
   

 

ความเป็นมาของระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์

                      ระบอบเผด็จการที่มีเพียงพรรคคอมมิวนิสต์เพียงพรรคเดียวได้รับการยอมรับหรือสนับสนุนจากบุคคลต่างๆ และกองทัพให้เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ  แนวคิดเรื่องคอมมิวนิสต์นี้เป็นหลักการที่นำเสนอโดย คาร์ล มาร์กช์ และ ต่อมานิโคไล เลนิน ได้นำเอาแนวคิดนี้ไปใช้ปฏิวัติรัสเซีย และเมาเซตุงได้นำไปปรับใช้ในการปฏิบัติจีน พวกนี้เชื่อว่าสังคมทุนนิยม ซึ่งมีนายทุนเป็นเจ้าของปัจจัย การผลิตทุกอย่างจะพยายามกดขี่รีดนาทาเร้นให้กรรมกรผลิตให้มากที่สุด และจะให้ค่าแรงงานต่ำสุด คือให้เพียงแค่ให้กรรมกรรักษาชีวิตอยู่รอดไปแต่ละวันเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่กรรมการต้องทำงานวันละหลายชั่วโมงในโรงงานที่มีสภาพอับชื้น อบอ้าวและเป็นพิษเป็นภัยต่อสุขภาพอย่างยิ่ง พวกคอมมิวนิสต์จึงมองว่านายทุนเป็นกลุ่มคนจำนวนน้อยที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ไม่ได้ลงมือลงแรงทำอะไรเลย แต่กลับได้ประโยชน์มหาศาล และประโยชน์เหล่านี้ต่างเป็นพลจากหยาดเหงื่อแรงงานของกรรมกรทั้งสิ้น

ที่มา :https://sites.google.com/site/rubbabkarnpokkrong/4-kar-pkkhrxng-rup-baeb-phedckar-khxmmiwnist

4| | |คาร์ล มาร์กซ์ เชื่อว่าเงื่อนไขที่อาจจะนำไปสู่การปฏิวัติล้มล้างสังคมนายทุนมีอยู่ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ | | |3

1.สังคมนั้นมีการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับสูง สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมเป็นกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมหนัก พวกนี้ได้รับความลำบากจากสภาพการทำงาน และการกดขี่แรงงานเหมือน ๆ กัน โอกาสที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการจัดกลุ่ม จัดองค์กรย่อมทำได้ง่าย

2.เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำระยะยาว นั่นคือขณะที่กรรมกรได้ค่าจ้างเพียงน้อยนิด เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีปัญหาเรื่องข้าวยากหมากแพงขึ้น ปัญหาการอดมื้อกินมือก็จะขึ้นกับกรรมกร ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเลวร้ายให้มากขึ้นไปอีก

3.กรรมกรเกิดความรู้สึกสำนึกร่วมกัน ในความเลวร้ายที่พวกเขาได้รับว่า เป็นผลมาจากการกดขี่ขูดรีดของนายทุน จึงมีการรวมตัวกันกำจัดต้นตอหรือที่มาของความเลยร้ายเสียหลังจากการปฏิวัติล้มล้างสังคมทุนนิยมแล้ว รัฐบาลใหม่ซึ่งเป็นรัฐบาลหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะก้าวไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ รัฐบาลนี้จัดตั้งโดยชนชั้นกรรมาชีพ พวกคอมมิวนิสต์อ้างว่า เป็นรัฐบาลของคนส่วนใหญ่ ซึ่งรัฐบาลจะใช้วีการเผด็จการรุนแรงในการกำจัดศัตรูหรือนายทุน ในประวัติการเมืองของสังคมโลกนั้น ไม่ปรากฏว่ามีสังคมอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าสังคมใดเลยที่ที่มีการปฏิวัติเกิดขึ้นตามความเชื่อของคาร์ล มาร์กซ์ ส่วนกาปฏิวัติในรัสเซีย โดยการนำของนิโคไล เลนิน ในปี พ.ศ. 2460 และการปฏิวัติในจีน


ที่มา :https://sites.google.com/site/rubbabkarnpokkrong/4-kar-pkkhrxng-rup-baeb-phedckar-khxmmiwnist

                      โดยการนำของเมาเซตุง ในปี พ.ศ. 2492 นั้น เกิดขึ้นในขณะที่ทั้งรัสเซียและจีนขณะนั้นยังไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมมากนัก ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงเป็นชนชั้นชาวนา เพื่อให้การปฏิวัติเป็นไปได้ นิโคไล เลนิน จึงได้จัดตั้งองค์การพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ปลุกระดมประชาชนและเป็นแกนนำในการลุกฮือปฏิวัติล้มล้างนายทุน สถาปนารัฐบาลเผด็จการ โดยพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมาทำหน้าที่ปกครองประเทศต่อไป พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียวที่อนุญาตให้มีได้ การปฏิวัติในจีนโดยการนำของเมาเซตุง ก็เป็นการปฏิวัติ ในนาม ของประชาชนเช่นเดียวกันกับกรณีของการปฏิวัติในรัสเซีย และเสร็จสิ้นในลักษณะเดียวกัน คือ มีการสถานปนารัฐสังคมนิยมขึ้นโดยกรชี้นำของเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์

                       หากบอกว่าเป็นลัทธิก็ไม่น่าจะผิดนัก เพราะหลายๆ ท่านเองก็คงเคยจะได้ยินถึงลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่บ่อยๆ โดยทั่วไปแล้วตามความเข้าใจเดิมของระบอบคอมมิวนิสต์ ก็คือการรวบรวมอำนาจเพียงหนึ่งมารวมไว้ที่ๆ พรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ซึ่งจะแตกต่างจากประชาธิปไตยที่จะมีพรรคฝ่ายค้านที่ถูกแต่งตั้งจากจำนวนเสียงที่น้อยกว่าที่มาเป็นอันดับ 2 โดยพรรคที่ได้รับการยอมรับจากคนในประเทศจะสามารถใช้กำลังการทหาร หรือได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอย่างเต็มที่เพื่อมีสิทธิภาพมากพอในการปกครองเทศของตนเอง ในสมัยอดีตรัสเซียเองก็เคยใช้ระบอบการปกครองนี้ ในการปกครองบ้านเมืองของตนเองในสมัยที่ยังเป็น “สหภาพโซเวียต” อยู่ แต่ต่อมาในวันที่ 12 ธันวาคม ปีพ.ศ.1993 รัสเซียได้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญใหม่ จึงเปลี่ยนตนเองให้เป็น “สหพันธรัฐ” ในปัจจุบัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าระบอบการปกครองในรูปแบบของคอมมิวนิสต์ ยังมีให้เห็นอยู่ในหลายๆ ประเทศไม่น้อยเลย เช่น เกาหลีเหลือ เป็นต้น

                      แต่หลายๆ คนก็ยังคงเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปกครองระหว่าง ระบอบเผด็จการและระบอบคอมมิวนิสต์อยู่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วระบอบเผด็จการนั้นความเด็ดขาดยังน้อยกว่าระบอบการปกครองในรูปแบบคอมมิวนิสต์อยู่มากพอสมควรเลย เพราะระบอบการปกครองในด้านการเมืองของคอมมิวนิสต์จะคอยควบคุมประชาชนในประเทศ รวมไปถึงเศรษฐกิจและการปกครองภายในประเทศจะต้องเป็นไปตามความต้องการของผู้นำคอมมิวนิสต์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น จึงไม่แปลกที่จะบอกว่าคอมมิวนิสต์ ก็คือระบอบการปกครองเผด็จการในแบบรูปเบ็ดเสร็จถ้วนทั่ว

                      แต่ก็ใช่ว่าระบอบเผด็จการจะเป็นสิ่งไม่ดี และไม่เป็นประสบผลสำเร็จสะทีเดียว เพราะก็ยังมีบางประเทศที่ยังคงปกครองในรูปแบบนี้ และยังยึดมันการปกครองของตนอยู่อย่างเช่น “จีน” ซึ่งจีนถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านการปกครอง เพราะจีนสามารถนำรูปแบบการปกครองที่สามารถเข้าได้ดีกับประเทศของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจีนมีแผ่นดินที่ใหญ่จึงทำให้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์เป็นไปได้อย่างดีเยี่ยม และจีนยังได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของตนเองให้มีความคล่องตัวเช่น จีนจะไม่จำกัดเสรีภาพในเรื่องเศรษฐกิจนั่นเองผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เชื่อว่าระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์เป็นรูปแบบการปกครองที่เหมาสมกับประเทศของตนและจะช่วยทำให้ชนชั้นกรมาชีพเป็นอิสระจากการถูกกดขี่โดยชนชั้นนายทุน รวมทั้งทำให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับต่างประเทศคนยากจนไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบกับนายทุน โดยประเทศที่มีการปกครองระบอบนี้ เช่น สหภาพโซเวียตในอดีต เป็นต้น

                      ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์มีความแตกต่างจากระบอบเผด็จการทหารในบางประการ เช่น ระบอบเผด็จการทหารจะควบคุมเฉพาะกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนเท่านั้น แต่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์จะใช้อำนาจเผด็จการควบคุมกิจกรรมแลการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ด้วยเหตุนี้นักรัฐศาสตร์จึงเรียกระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ว่า “ระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ” อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแต่ละประเทศเล็งเห็นว่าทั้งระบอบประชาธิปไตย และระบอบเผด็จการต่างก็มีข้อดีและข้อจำกัดในตัวเอง บางประเทศจึงมีการปฏิรูปแนวทางการเมืองการปกครองบางด้านให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม บริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งเพื่อให้สามารถแข่งกับนานาประเทศได้ ตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ที่เป็นแบบฉบับของตนเอง คือ รัฐบาลยังคุมเข้มด้านสิทธิและเสรีภาพการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน แต่ทางด้านเศรษฐกิจรัฐบาลจีนกลับเปิดกว้างให้มีการแข่งขันทางการผลิต การค้า และการลงทุนได้อย่างเสรี

 
 
เว็บไซต์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา โครงการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี คุณครูที่ปรึกษา นางสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2563